ประวัติความเป็นมาของภาพประติมากรรมฝาฝนัง
ภายในโบสถ์ การออกแบบได้ดัดแปลงสถาปัตยกรรมแบบไทยให้สนองความต้องการ ด้านจารีตพิธีของคาทอลิก สอดสายตามองไปรอบๆ ภายในโบสถ์ รูปปั้นนูนแสดงพระมหาทรมานและการไถ่ของพระเยซูเจ้า ใครเก็นก็ต้องสะเทือนใจ รูปปั้นนูนความยาว 40 เมตร แสดงพระมหาทรมานของพระเยซูเจ้าบนผนังทั้งสองข้างภายในตัวโบสถ์ และรูปปั้นพระเยซูเจ้าปางฝู้ไถ่นี้ คุณพ่อแฮรี่ ทีล เป็นผู้ว่าจ้างสถาปนิกชาวฟิลิปปินส์ MR.OLIVERES (VER) MANIPOL ให้ออกแบบในปี 1970 เริ่มต้นจะนำภาพวาดขนาดเท่าของจริงไปปะติดผนังของโบสถืทั้งสองข้าง แล้วเอาลวดตาข่ายมาตอกติดด้วยตะปู ยกรูปเป็นเค้าโครง 3 มิติ จากนั้นนำปูนซีเมนต์ และปูนปาสเตอร์มาโบก ท้ายที่สุดจึงปั้นเป็นรูปและสลักด้วยเกรียง แปรง และตกแต่งรายละเอียดด้วยมือ เมื่อผิวรูปปั้นแห้งดีแล้ว จึงเคลือบด้วยสีให้ดูเป็นของเก่า รูปปั้นมโหฬารหลังพระแท่นบูชาก็ใช้วิธีเดียวกันนี้ ซึ่งต่อมาทาเป็นสีทอง
ด้วยความร่วมมือของคุณพ่อทีล และ Mr.VER เราจึงได้มาซึ่งงานศิลป์ที่ไม่เหมือนใคร แสดงถึงพระมหาทรมาน การสิ้นพระชนม์ และการเสด็จฟื้นคืนชีพของพระเยซูเจ้า นอกจากรูปปั้นนูนแสดงมรรคาแห่งกางเขนทั้ง 14 ภาคแล้ว ยังมีภาพที่แสดงถึงการเข้าตรีทูตในสวนเก็ธเซมานี (ด้านขวาสุด) และการเสด็จฟื้นคืนชีพ (ด้านซ้ายสุด) อีกด้วย รูปปั้นนูนแสดงเหตุการณ์แต่ละภาพที่เชื่อมต่อกันเหมือนคลื่นโน้มน้าวใจเราให้ทราบซึ้งถึงโศกนาฏกรรมแห่งมรรคาอันศักดิ์สิทธิ์ พระมหาทรมานเริ่มต้นในคืนที่พระเยซูเจ้าทรงภาวนาด้วยพระทัย สุดโทมนัสอยู่ในสวนมะกอก ทรงอ้อนวอนขอให้พ้นจากการทรมานที่รออยู่เบื้องหน้า ณ กรุงเยรูซาแลม แต่ทรงจบการอ้อนวอนด้วยการสยบตามน้ำพระทัยของพระบิดาอย่างสิ้นเชิงด้วยคำภาวนาว่า “...ทั้งนี้โปรดให้เป็นไปตามน้ำพระทัยของพระองค์เถิด มิใช่ของลูก...” ความโศกสลดของหญิงชาวกาลิลี คือ เวโรนิกา (ภาพพระพักตร์ของพระเยซูเจ้าบนผ้าผืนนั้นของเธอเป็นภาพที่น่าทึ่งยิ่งนัก) และสตรีอื่นๆขณะที่เห็นพระองค์ถูดสบประมาทอย่างสาหัสคล้ายกับจะสะท้อนออกมาจากใบหน้าที่แสหงออกถึงความปวดร้าวของเหล่าผู้คุม ทำนองเดียวกันกับโจรผู้กลับใจ ผู้ยอมรับรู้ว่า จริงๆแล้วพระเยซูอจ้าเป็ฯใคร การที่พวกผู้คุมเหล่านั้น รู้สึกรังเกียจขยะแจยงต่อการกระทำทารุณกรรมที่พวกเขากระทำ แสดงให้เห็นว่า พวกเขาเองก็ได้สัมผัสกับความเป็นพระเจ้าในความเป็นมนุษย์ของพระเยซูเจ้าที่ถูกทรมานจนหมดสภาพ เมื่อพิธีปลงพระศพอันแสนเศร้าผ่านไป ความทุกข์เริ่มคลายและกลับกลายมาเป็นความปิติยินดีด้วยการฟื้นคืนชีพของพระเยซูเจ้า “ความตายถูกกลืนหายไปในชัยชนะ” (1โครินทร์ 15:54) ดังจะเห็นได้จากรูปปั้นอันงานตรำการตาของผู้ทีชัยชนะ พระเยซูเจ้าองค์พระมหาไถ่ จอกแห่งพระมหาทรมานในสวนเก็ธเซมานีด้กลายมาเป็นจอกกาลิศแห่งศีลมหาสนิท ข้อความเชื่อในการฟื้นคืนชีพของพระเยซูเจ้าทำให้เรามีความมั่นใจในอันที่จะสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้าในโลกใบนี้ ด้วยความหวังอันแน่วแน่ไม่มีวันเสื่อมคลายว่าเราจะผื้นคืนชีพเช่นกัน