hrc log

  • Home / หน้าแรก
  • Redemptorist Mission Center
  • Map / แผนที่เดินทาง
  • About us / เกี่ยวกับเรา
    • History / ความเป็นมาของโบสถ์
    • Priests / คณะสงฆ์
    • Store / ห้องศาสนภัณฑ์
    • Facebook
    • Map / แผนที่วัด
    • Redeemer Hall / หอประชุมอเนกประสงค์
    • Articles / บทความ
    • Parish Survey
  • Prayer / บทภาวนา
    • Novena Prayer / นพวารฯ
    • Ordo Missae / บทพิธีมิสซา
    • บทภาวนาพื้นฐาน
    • Way of the Cross / เดินรูป 14 ภาค
    • Daily Mass Readings
    • Song Book
    • ข้อรำพีงสายประคำศักดิ์สิทธิ์
  • Our Ministry / งานอภิบาล
    • ศีลล้างบาป / Baptism Service
    • งานด้านคำสอน / Catechism
      • Catechism for English Speaking Children
  • Bible / พระคัมภีร์(ฉบับย่อ)
    • พระธรรมเก่า
    • พระธรรมใหม่
  • Articles / บทความ

hrc log


มารีย์ นิจจานุเคราะห์

Posted in Articles

         Mother of Perpetual Help

           มารีย์ที่เป็นมารดาของพระเยซู ไม่มีความต้องการที่จะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ แต่เป็นมนุษย์เองที่เห็นว่าท่านเป็นผู้ยิ่งใหญ่ เพราะท่านเป็นผู้ที่พระเจ้าโปรดปราน มารีย์ไม่ได้ทำอะไรเป็นพิเศษ เพียงตอบรับสิ่งที่พระเจ้าขอร้อง เพราะมารีย์เห็นตนเองเป็นเพียง “ผู้รับใช้ของพระเจ้า...” (ลก. 1/38)

มารีย์ในพระธรรมใหม่

          ในพระธรรมใหม่ไม่ได้กล่าวอะไรมากมายเกี่ยวกับมารีย์ แต่เธอมีบทบาทพิเศษในแผนการไถ่บาปมนุษยชาติ และพระศาสนจักร นักบุญมัทธิวกล่าวถึงมารีย์เป็นภรรยาของโยแซฟ และเป็นแม่ของพระเยซู (มธ. 1/16)...เรื่องราวเกี่ยวกับการประสูติของพระเยซู (มธ. 1/18-25) มีโหราจารย์ 3 คน มาพบพระกุมารและมารีย์มารดา (มธ. 2/11) จากนั้นทั้งครอบครัวหนีไปอียิปต์

          นักบุญลูกาได้เล่าเกี่ยวกับการเกิดของพระเยซูและบทบาทของมารีย์ ทูตสวรรค์กาเบรียลได้แจ้งข่าวการประสูติของพระเยซู มารีย์ได้ตอบรับอย่างไม่มีเงื่อนไข (ลก. 1/26-38)...มารีย์ไปเยี่ยมเอลิซาเบธ (ลก. 1/39-56)... พระเยซูประสูติ (ลก. 2/1-19)... ถวายพระกุมารในพระวิหาร (ลก. 2/22-39).... พบพระกุมารในพระวิหาร (2/41-51)... มารีย์เป็นคนศรัทธาปฏิบัติตามกฎ บัติญัติอย่างดี (ลก. 2/22,27,39)

          นักบุญมัทธิวและมาร์โก ได้บรรยายว่า มารีย์เป็นที่รู้จักในหมู่บ้านนาซาเร็ธ (มธ. 13/55, มก. 6/3) ส่วนนักบุญยอห์ได้กล่าวถึงมารีย์ในงานเลี้ยงที่หมู่บ้านคานา (ยน.2/1-11)... มารีย์อยู่ร่วมกับบรรดาสาวกและคนอื่น ๆ ในการร่วมอธิษฐาน (กจ. 1/14)... บทบาทของมารีย์ในพระศาสนจักรแรกเริ่ม        เนื่องจากสตรีในสมัยนั้นไม่มีบทบาทในสังคม จึงไม่มีการบันทึกกิจกรรมต่างๆ รวมถึงความตายของมารีย์แต่ยังมีร่องรอยทำให้เราเห็นมารีย์อยู่ในเหตุการณ์ใหญ่ ๆ ของพระศาสน่จักรถึงสามตอนคือ

1. การแจ้งเกิดของพระเยซูเจ้า โดยทูตสวรรค์กาเบรียล เป็นเหตุการณ์สำคัญ เพราะเป็นจุดที่พระเจ้ามาเป็นหนึ่งเดียวกับมนุษย์ และไถ่บาปมนุษย์

2.ในรหัสธรรมปัสกา (พระทรมาน การสิ้นพระชนม์) มารีย์อยู่เคียงข้างพระเยซูจนถึงนาทีสุด ท้ายที่เชิงกางเขน (ยน. 19/25) ณ ที่นั้น บาปถูกทำลายลงและชีวิตใหม่ได้เกิดขึ้นมา...

3. เมื่อพระจิตเจ้าเสด็จลงมา มารีย์ก็อยู่ร่วมกับบรรดาอัครสาวกในการอธิษฐานเตรียมรับพระจิตเจ้า (กจ. 1/14) มารีย์ อยู่ ณ จุดเริ่มต้นของพระศาสนจักร

แม่พระนิจจานุเคราะห์

          มารีย์ที่เราเรียกว่า “แม่พระ” มีองค์เดียว ที่มีหลายชื่อก็เนื่องมาจากบทบาทที่เกิดขึ้นในแต่ละสมัยและสถานที่หลายรูปเกิดขึ้นเฉพาะกิจ เพื่อบ่งบอกถึงคุณสมบัติและข่าวสารที่แม่พระต้องการจะสื่อให้กับมนุษย์ เช่น แม่พระเมืองลูร์ดส์ แม่พระอุปถัมภ์... ส่วนแม่พระนิจจานุเคราะห์ก็เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน เพราะมนุษย์กำลังแสวงหาพลังที่จะเดินไปสู่สหัสวรรษใหม่อย่างมีความหมาย... ตามทางประสบปัญหาความยากจน สุขภาพ ความแตกแยกในครอบครัว... ทำให้นาม “มารีย์ นิจจานุเคราะห์” โดนใจบุคคลเหล่านี้มาขอพึ่งพระแม่

วัดพระมหาไถ่ กรุงเทพฯ

    ได้มีพิธีนพวารแสดงความศรัทธาต่อแม่พระนิจจานุเคราะห์เป็นวัดแรกในปรเทศไทย และมีเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้เป็นเวลา 50 ปีแล้ว ในเวลาเดียวกัน พิธีนพวารก็ได้แพร่ไปแทบทุกวัด สัตบุรุษวัดพระมหาไถ่จึงได้ร่วมใจจัดงานเฉลิมฉลองวัดและแม่พระนิจจานุเคราะห์อย่างศรัทธาในโอกาสนี้ เราลูกวัดก็ควรจะทำความรู้จักกับรูปนี้ด้วย

รูปแม่พระนิจจานุเคราะห์

เป็นรูปที่สรุปความเชื่อของคริสตชนที่มีต่อแม่พระ ตั้งแต่สมัยแรก ๆ จนถึงปัจจุบัน แบ่งออกเป็นห้าแนวเรื่องใหญ่ ๆ คือ

1. มารีย์ มารดาพระผู้ไถ่ (Mary, The Virgin Mother of the Promised Messiah) ในศตวรรษแรก ๆ มีความเชื่อถึงว่าแม่พระมีบทบาทที่นำพระเยซู พระผู้ไถ่ที่พระเจ้าได้สัญญาไว้มาสู่โลก ทั้งยังเป็นการยืนยันถึงพระเยซูเป็นพระเจ้าแท้และมนุษย์แท้ด้วย

2. มารีย์ มารดาพระเจ้าเป็นจักพรรดิณี (Mary, Mother of God as Empress) เนื่องมาจากโหราจารย์ 3 คนได้แสวงหา “กษัตริย์ของชาวยิว” (ลก. 2/1-11)... และมาเด่นชัดในศตวรรษที่สี่เมื่อจักรพรรดิคอนสแตนตินกลับใจเป็นคริสตัง... แต่แม่พระใช้อำนาจในการรับใช้พระเจ้าและมนุษย์ โดยมีพระเยซูเป็นศูนย์กลาง

3. มารีย์ มารดาพระเจ้าขณะภาวนา (Mary, Mother of God at Prayer) รูปนี้ได้แสดงให้เห็นว่า แม่พระภาวนาให้ทุก ๆ คนที่มาขอพึ่งพา และยังบ่งบอกอีกว่า ‘พระบุตรทรงรับเอากาย มาอยู่ท่ามกลางเรา’ หรือ ‘พระเจ้าอยู่กับเรา’

4. มารีย์ มารดาพระเจ้าผู้ชี้ทาง (Mary, Mother of God Hodiguitria) แม่พระยืนอยู่ที่สี่แยก คอยชี้ทางให้คนที่เดินผ่านไปมา สมัยก่อนบรรดาแม่ทัพก่อนออกรบทำสงครามมักจะมาสวดต่อหน้าพระรูปนี้ ‘ขอแม่นำทางให้ได้กลับมาอย่างปลอดภัย…’

5. มารีย์ มารดาพระเจ้าเปี่ยมด้วยความอ่อนโยนและเมตตา (Mary, Mother of God Eleusa) เป็นภาพที่รวมเอาอารมณ์ อ่อนโยน รัก เมตตา สงสารลูกที่จะต้องรับทรมาน... ซึ่งค่อนข้างไปทางแม่พระมหาทุกข์

      ทั้งห้าแนวเรื่องนี้มารวมอยู่ในรูปของ “แม่พระมหาทุกข์” แม่พระทุกข์มากเพราะพระกุมารได้ยอมรับแผนการไถ่บาปที่ทูตสวรรค์ทั้งสองนำมาเสนอ ส่วนรูปแม่พระนิจจานุเคราะห์ก็ได้ลอกแบบมาจากรูปแม่พระมหาทุกข์นั่นเอง เปลี่ยนแปลงก็เฉพาะสีต่าง ๆ ให้สดใสกว่าเดิม การทำนพวารที่แท้จริงคือวอนขอแม่พระช่วยเราให้เป็น “นิจจานุเคราะห์” อีกคนหนึ่ง

ประสบการณ์เกี่ยวกับแม่พระ

1. แม่พระเป็นบุคคลที่มีความเชื่อ... เมื่อทูตสวรรค์แจ้งข่าวว่าเธอเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้า จะเป็นมารดาของพระผู้ไถ่... เธอก็ไม่เข้าใจ แต่ก็เต็มใจ ‘รับใช้พระเจ้าอย่างไม่มีเงื่อนไข’ แม่พระตอบทูตสวรรค์ว่า ‘ข้าพเจ้าเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า จงเป็นไปตามที่ท่านกล่าวเถิด’ (ลก. 1/38) แสดงถึงความเชื่ออันลึกซึ้งของแม่พระ

2. นักบุญหลุยส์มารีย์ เดอ มองฟอร์ดมีความศรัทธาต่อแม่พระมาก ท่านได้สรุปบทบาทของแม่พระสั้น ๆ ว่า ‘ไปหาพระเยซูผ่านทางแม่พระ’ ฟังแล้วอาจโต้เถียงได้ว่า‘เราก็ไปหาพระเยซูเจ้าโดยตรงมิได้หรือ? แล้วทำไมต้องผ่านแม่พระด้วย?’ เรื่องนี้ตอบยาก... แต่จากประสบการณ์ชีวิตแพร่ธรรมกว่าสามสิบปี ผมเห็นคนต่างศาสนาสมัครเรียนคำสอนเพื่อเป็นคริสตังเพราะแรงบันดาลใจจากแม่พระ และหลายคนได้อุทิศตนรับใช้แม่พระเพื่อพระเยซูเจ้า เช่น คณะพลมารี...

3. แม่พระเป็นที่พึ่งของนักบุญและคนบาปเท่า ๆ กัน จากประสบการณ์ของผม คนบาปได้กลับใจก็มาก... แม่พรระยังเป็นความหวังของคนจะสิ้นใจ ผู้ป่วยหนักหลายคนพูดว่า “แม่พระจะมารับฉันไป”... อีกรายหนึ่ง เมื่อผมโปรดศีลเจิมคนไข้เสร็จ เขาร้องเสียงดังว่า”แม่พระ...” ทุกคนตกใจคิดว่าเขาจะต้องตาย แต่อีกไม่กี่วันเขากลับบ้านได้.. มามองชีวประวัตินักบุญแทบทุกองค์มีแม่พระมาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ

แม่พระเป็นนิจจานุเคราะห์

         ถ้าแม่พระไม่ได้เลือกชื่อนี้ ในธรรมชาติของแม่พระก็จะต้องเป็น ‘(ผู้ช่วยเหลือลูก ๆ อยู่เสมอ' หรือ ‘นิจจานุเคราะห์’ นั่นเอง เป็นไปได้ไหมที่แม่จะลืมลูกของตน? ถ้าหากแม้สมัยนี้จะลืม จะทิ้งลูกได้ แต่แม่พระจะลืมเราไม่ได้เพราะคุณค่าของมนุษย์ทุกคนมีค่าเท่าชีวิตของพระเยซู ซึ่งเป็นลูกและหัวใจของแม่ ทั้งลูกทั้งแม่ต่างผ่านความเจ็บปวด ในพระทรมานและการสิ้นพระชนม์ของพระเยซู แล้วจะให้แม่พระเมินเฉยต่อคำวิงวอนของเราได้อย่างไร? เราจึงมั่นใจได้ว่า แม่พระไม่ทอดทิ้งคนที่มาขอพึ่งพระแม่แม้แต่คนเดียว

บทภาวนาของพระสันตะปาปาจอห์นปอล ที่ 2

          ข้าแต่พระมารดานิจจานุเคราะห์ พระแม่เป็นเครื่องหมายแห่งความหวังอันยิ่งใหญ่ของลูก ลูกเรียกหาพระแม่ พระมารดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ของพระผู้ไถ่ โปรดช่วยประชากรที่แสวงหาพลัง ที่จะลูกขึ้นจากความอ่อนแอ โปรดประทานความหรรษา แก่มวลมนุษย์ที่ย่างเข้าสู่สหัสวรรษที่สาม โดยตระหนักถึงความยากจนความมีน้ำใจและร่วมเป็นปึกแผ่นกับคนจน
          ข้าแต่พระแม่เจ้า โปรดให้พวกลูกประกาศพระวรสารของพระบุตร ในรูปแบบใหม่อย่างกล้าหาญ ซึ่งเป็นพื้นฐานและสุดยอดของมวลมนุษย์ ที่แสวงหาความจริง ความยุติธรรมและสันติสุขอันถาวร
          ข้าแต่พระแม่เจ้า ลูกปรารถนาที่จะจับมือขวาของพระแม่ เหมือนกับพระกุมารเยซูที่พระแม่อุ้มชูในภาพนี้พระแม่เปี่ยมด้วยอำนาจและคุณงามความดี ที่จะช่วยลูกในทุกสิ่งทุกอย่างที่จำเป็นและสิ่งที่ลูกต้องการ บัดนี้ เป็นเวลาที่พวกลูกรอคอยความช่วยเหลือจากพระแม่ ขอพระแม่เป็นที่พึ่งและความหวังของลูกทุกคนด้วยเถิด อาแมน
           พระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 (Communicanda No.85 July 1991)



Contact us / ติดต่อเรา

Holy Redeemer Church
123/15 Ruamrudee Soi 5
Wittayu Road Patumwan
Bangkok Thailand 10330

โบสถ์พระมหาไถ่
123/15 ร่วมฤดีซอย 5 ถ.วิทยุ
แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กทม. 10330

Email: redeemerbangkok@gmail.com
tel:  
(+66)  02-6515251,
02-6515252, 02-6515253

map icon
แผนที่เดินทาง / map

  • Home / หน้าแรก
  • Redemptorist Mission Center
  • Map / แผนที่เดินทาง
  • About us / เกี่ยวกับเรา
    • History / ความเป็นมาของโบสถ์
    • Priests / คณะสงฆ์
    • Store / ห้องศาสนภัณฑ์
    • Facebook
    • Map / แผนที่วัด
    • Redeemer Hall / หอประชุมอเนกประสงค์
    • Articles / บทความ
    • Parish Survey
  • Prayer / บทภาวนา
    • Novena Prayer / นพวารฯ
    • Ordo Missae / บทพิธีมิสซา
    • บทภาวนาพื้นฐาน
    • Way of the Cross / เดินรูป 14 ภาค
    • Daily Mass Readings
    • Song Book
    • ข้อรำพีงสายประคำศักดิ์สิทธิ์
  • Our Ministry / งานอภิบาล
    • ศีลล้างบาป / Baptism Service
    • งานด้านคำสอน / Catechism
      • Catechism for English Speaking Children
  • Bible / พระคัมภีร์(ฉบับย่อ)
    • พระธรรมเก่า
    • พระธรรมใหม่
  • Articles / บทความ